สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ผสมเทียม “เสือลายเมฆ” สำเร็จครั้งแรกในไทย
ด้านดร.บริพัตร ศิริอรุณรัตน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์วิจัย หัวหน้าทีมการผสมเทียมเสือลายเมฆ กล่าวว่า เสือลายเมฆเป็นหนึ่งในสัตว์ป่าหายาก ใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่งของไทยและของโลก มีการกระจายตัวอยู่เฉพาะในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่า นั้น จัดเป็นสัตว์ที่มีองค์ความรู้ด้านชีววิทยาค่อนข้างน้อย และอาจกล่าวได้ว่าเสือลายเมฆเป็นสัตว์ที่มีความท้าทายและยากที่สุดในการจับ คู่ผสมพันธุ์เพื่อเพาะขยายพันธุ์ ทั้งนี้ โครงการอนุรักษ์เสือลายเมฆได้จัดตั้งเมื่อปี 2545 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพาะขยายพันธุ์เสือลายเมฆนอกถิ่นอาศัย ซึ่งประสบความสำเร็จในการจับคู่พ่อแม่พันธุ์ให้มีการผสมพันธุ์ได้เองตาม ธรรมชาติ และมีลูกเสือที่เกิดมาแล้วรอดชีวิตจนถึงปัจจุบันได้มากถึง 58 ตัว และประชากรกลุ่มนี้ได้ส่งเป็นประชากรต้นพันธุ์ให้แก่สวนสัตว์อื่นๆ เพื่อเพาะขยายพันธุ์ต่อแล้วถึง 16 ตัว
เมื่อวันที่ 2 ก.ค. นายเบญจพล นาคประเสริฐ ผอ.องค์การสวนสัตว์ ในพระราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า ภายหลังความพยายามผสมเทียมเสือลายเมฆของนักวิจัยไทยและอเมริกา ตามโครงการความร่วมมือในการอนุรักษ์เสือลายเมฆในประเทศไทย โดยมีสถาบันสมิธโซเนียน สวนสัตว์แนชวิลล์ สวนสัตว์พอยท์เดอไฟแอนส์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย นำโดย รศ.สพญ.ดร.เกวลี ฉัตรดรงค์ ร่วมกันศึกษาวิจัยในโครงการฯ จนกระทั่งประสบความสำเร็จ ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญของไทยที่ลูกเสือลายเมฆ 2 ตัว จากการผสมเทียมได้ถือกำเนิดเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
ดร.บริพัตร กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ภายหลังการดำเนินงานของโครงการมากว่า 13 ปี พบยังมีเสือบางกลุ่มที่ไม่สามารถจับคู่ผสมพันธุ์ได้เองตามธรรมชาติ เกิดปัญหาสัตว์ขาดคู่จากสาเหตุหลายปัจจัย อาทิ พฤติกรรมความดุร้ายของตัวผู้ที่ทำร้ายคู่จนได้รับบาดเจ็บ พิการหรือตาย พฤติกรรมฝังใจของเพศเมียที่ถูกทำร้ายในช่วงการผสมพันธุ์ทำให้ไม่ยอมรับ การจับคู่หรือผสมจากตัวผู้ ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นในการนำเทคโนโลยีช่วยการสืบพันธุ์ เช่น การผสมเทียม หรือการปฏิสนธินอกร่างกายและการย้ายฝากตัวอ่อน
ซึ่งในอดีตมีรายงานความสำเร็จเพียงครั้งเดียวและครั้งแรกของโลกที่สวนสัตว์ แนชวิลล์ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยนำเทคโนโลยีการผสมเทียมมาประยุกต์ใช้ในเสือลายเมฆเข้าสู่ปีกมดลูกด้วย เทคนิคการส่องกล้องลาพาโรสโคป ด้วยน้ำเชื้อสด 88 ล้านตัว สามารถผลิตลูกเสือจำนวน 2 ตัว หลังการผสมเทียม 89 วัน และหลังจากนั้นได้มีการนำเทคนิคการผสมดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการผสมเทียม หลายครั้งแต่ยังไม่มีรายงานความสำเร็จอีกเลย
ดร.บริพัตร กล่าวว่า สำหรับโครงการฯ ในประเทศไทย ได้เริ่มทดลองผสมเทียม 2 ครั้ง โดยครั้งแรกทำเมื่อวันที่ 8 มี.ค.57 ในเสือลายเมฆของสวนสัตว์เชียงใหม่ 1 ตัว โดยฉีดน้ำเชื้อเข้าปีกมดลูกด้วยเทคนิคการส่องผ่านกล้อง ทำการผสมด้วยน้ำเชื้อแช่แข็ง แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 58ในเสือเพศเมีย 1 ตัว ชื่อ กระดิ่ง ของสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชลบุรี พบตกไข่ข้างละ 2 ใบ รวม 4 ใบ โดยใช้วิธีผสมเทียมด้วยการปล่อยน้ำเชื้อเข้าบริเวณท่อนำไข่ด้วยเทคนิคการ ส่องผ่านกล้อง ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้จำนวนน้ำเชื้อน้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการแรก ประกอบกับจำนวนน้ำเชื้อที่ได้จากการรีดเก็บมีจำนวนน้อย
ดังนั้น คณะวิจัยจึงผสมเทียมโดยใช้น้ำเชื้อแช่เย็นจากเสือตัวผู้ 2 ตัว ชื่อ เมย์ ด้วยน้ำเชื้อ 5 ล้านตัว เข้าสู่ท่อนำไข่ข้างซ้าย และ ศักดา ด้วยน้ำเชื้อ 8 ล้านตัว เข้าสู่ท่อนำไข่ข้างขวา และล่าสุดเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. ที่ผ่านมา มีลูกเสือคลอดจากแม่ที่ได้รับการผสมเทียม 2 ตัว เป็นเพศผู้ 1 ตัว และเพศเมีย 1 ตัว ซึ่งมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ดีทั้งคู่
Subscribe to:
Post Comments
(
Atom
)
No comments :
Post a Comment